วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2563

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน

Main Article Content

บัณฑิตาภรณ์ ศรีคำภา

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยทางการบริหารของสถานศึกษา (2) ศึกษาระดับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา และ3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางการบริหารกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปทุมธานีกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 65 คน และครูการเงิน/ครูพัสดุ จำนวน 130 คนรวม 195 คนในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี  ปีการศึกษา 2556 ที่ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยทางการบริหารของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25) โดยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกเรียงตามลำดับ คือ ด้านโครงสร้าง ด้านภาวะผู้นำ และด้านการจูงใจ (2) การบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก( = 4.20) โดยพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด 3 อันดับแรกเรียงตามลำดับ คือ ด้านการจัดระบบการจัดซื้อจัดจ้าง ด้านบริหารทางการเงิน การควบคุมงบประมาณ และด้านการตรวจสอบภายใน และ (3) ปัจจัยทางการบริหารมี ความสัมพันธ์ทางบวก ระดับปานกลางกับการบริหารงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของสถานศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Downloads

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กฤษฎา การีชุม. (2554). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพของโรงเรียนขนาด
เล็ก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
กนกพร สร้อยจิต. (2551). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความสามารถในการจัดทำผลงานทางวิชาการ
ของข้าราชการครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
เกศินี พันธุมจินดา. (2554). การดำเนินงานตามระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานของโรงเรียนมัธยมในจังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 5 (ฉบับเสริม 1/2554), 217-225.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2553). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 12). กรุงเทพฯ: เทพนิมิต การพิมพ์.
ธีรพงษ์ วงษ์หนองหอย. (2552). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาขอนแก่น. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น.( พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ประเสริฐ ปิ่นปฐมรัฐ และคณะ. (2549). การพัฒนากระบวนการบริหารงบประมาณมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรีโดยระบบงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ชาติ โครงการวิจัย
ได้รับสนับสนุนจากงบประมาณแผ่นดินคณะเทคโนโลยีการเกษตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
ผาณิต ฮานาฟี. ( 2555 ).ปัญหาและแนวทางพัฒนาการบริหารงานงบประมาณของโรงเรียนสุเหร่าหะยีมินา
สำนักงานหนองจอก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรทิพย์ ยอดด้วง.(2549). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เขตตรวจราชการที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร.
พิจิตร พรหมจารีย์.(2553).ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการหลักสูตรของโรงเรียน
ประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี.
พิมพรรณ สุริโย. (2553). ปัจจัยด้านผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน. วิทยานิพนธ์ปริญญา มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.
วันชัย มีชาติ.(2550). การบริหารองค์การ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2546). การบริหารการศึกษา หลักการ ทฤษฎี หน้าที่ประเด็นและบทวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ ทิพยวิสุทธิ์.
สัลมาน สะบูดิง. (2551). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียน
เอกชนสอนศาสนาอิสลาม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษายะลา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สุเมธ เชื้อจันทร์. (2553). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดเทศบาลในภูมิภาคตะวันออก. ศึกษษศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สมชาย พะโยม.(2554). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในอำเภอหางแมว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
อริยา คงเพียรภาค. (2554). ปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4. การศึกษาอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
French, W.,L.& Bell, C., H., Jr. (1984). Organization development: behavioral science interventions for organization Improvement (2nd ed.). New Delhi: Prentice - Hall of India Private.
Healy, M. (1994). BS 5750 and beyond in a secondary school: A change for the Best. In C. Parsons (ed). Quality improvement education. London: David Fuilon.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2001). Educational administration: Theory research and practice (6th ed).
New York: Mc Graw-Hill.
Moorthead, G. & Griffin, R.W. (1998). Organizational behavior: Managing people and organizationals.
( 5th ed). Boston: Houghton Miffin.
Owens, R. G. (2001). Organizational behavior in education. New York: Prentice-Hill.
Tyree, L. W., & Hellmich, D. M. (1995). .Florida’s continuing accountability experiment organization (5thed.). Community college journal, 6(7), 16-20.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น